การแสดงชุด “ฟ้อนขันดอก” เป็นการแสดงที่พ่อครูมานพ ยาระนะ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ปี พ.ศ. 2548 เป็นผู้ประดิษฐ์ท่าขึ้น โดยมีจุดประสงค์ในการแสดงเพื่อเป็นการฟ้อนรำต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง เพื่อให้บังเกิดความสงบร่มเย็นให้แก่บ้านเมือง โดยมีอุปกรณ์ประกอบการแสดงเป็นขันดอก หรือพานไม้ใส่ดอกไม้แบบล้านนา ซึ่งใช้ตบแต่งเพื่อบูชา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในงานบุญทางศาสนาโอกาสต่าง ๆ
เพลงพื้นบ้าน เป็นเพลงของชาวบ้านที่สร้างขึ้นเพื่อความบันเทิง สนุกสนาน หรือประกอบงานพิธีของชาวบ้าน เนื้อหาของบทเพลงจะมีทั้งคติสอนใจ คติธรรม เรื่องราวที่เกี่ยวกับศาสนา ชีวิตความเป็นอยู่ ความรัก เป็นตัน การขับร้องจะมีเครื่องดนตรีบรรเลงประกอบ หรือไม่มีก็ได้ ถ้าใช้เครื่องดนตรี ก็จะนำเครื่องดนตรีที่มี อยู่ในท้องถิ่นมาบรรเลงประกอบ ไม่มีแบบแผนการบรรเลงที่แน่นอน ถือได้ว่าเพลงพื้นบ้านของทุกชาติเป็นตันกำเนิดของเพลงชนิดอื่นๆ ซึ่งต่างก็วิวัฒนาการมาจากเพลงพื้นบ้านทั้งนั้น
ด้วยความเชื่อที่ว่าทุกคนเกิดมาพร้อมกับสิ่งนามธรรมอย่างหนึ่งที่เรียกกันว่า “ขวัญ” ซึ่งมีหน้าที่รักษาประคับประคองชีวิตและติดตามเจ้าของไปทุกหนแห่ง การทำพิธีสู่ขวัญจึงเป็นการเชิญขวัญที่หนีหายไปให้เข้ามาอยู่กับตัว และเชื่อว่าเป็นการส่งเสริมพลังใจให้เข้มแข็ง มีสติและไม่ประมาท