ในปีที่ผ่านมาภาคการเกษตรต้องเผชิญกับภัยแล้งที่รุนแรงต่อเนื่องยาวนานมาตั้งแต่ปี 2562 ถึงช่วงกลางปี 2563 ส่งผลให้ผลผลิตพืชและประมงที่สำคัญลดลง รวมถึงปัญหาด้านโลจิสติกส์ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ทุกประเทศชะลอการลงทุนลง GDP ภาคการเกษตรติดหล่ม ขณะที่แนวโน้มสินค้าเกษตรในปี 2564 จะดีขึ้นจนอาจจะกลับมาเป็นปีทองเกษตรกรอีกครั้งหนึ่ง 2563 ปีแห่งมรสุมเกษตรไทย นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าวว่า ปี 2563 ผลผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญ เช่น ข้าว, มันสำปะหลัง, อ้อยโรงงาน, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน ต่างปรับลดลง ตลาดส่งออกชะลอตัวจากผลกระทบของโควิด-19 มีการใช้มาตรการปิดเมือง การขนส่งชะงักเกิดการปิดด่านการค้าไทยไม่สามารถส่งออกสินค้าไปที่ตลาดสำคัญได้ ประกอบกับการปิดสถานประกอบการ การชะงักงันของกิจกรรมการผลิต และเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในภาวะชะลอตัว รวมถึงความขัดแย้งทางการค้าระหว่างประเทศ ทำให้การส่งออกฟื้นตัวช้า แต่สิ่งสำคัญก็คือ “เงินบาทแข็งค่า” แตกต่างจากคู่แข่งและปัญหาขาดแคลนแรงงานภาคเกษตร ทั้งเก็บผลไม้ แรงงานกรีดยาง จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้แรงงานไม่สามารถเดินทางกลับมาได้ จนเป็นเหตุให้ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร (จีดีพีภาคเกษตร) ปี 2563 คาดว่าจะมีมูลค่า 649,132 แสนล้านบาท หดตัว 3.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีมูลค่า 672,284 ล้านบาท แต่ก็ยังไม่น่ากังวลมาก หากเทียบกับช่วงปี 2559 เคยหดตัว 5% จากวิกฤตภัยแล้ง ทั้งนี้ พบว่าสาขาพืชหดตัวรุนแรงที่สุดถึง 4.7% ส่วนในปี 2564 คาดว่าจะสามารถขยายตัว 1.3-2.3% หรือราว 657,570.7-664,062 ล้านบาท แต่ยังคงต้องคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงที่ต่อเนื่องจากปี 2563 เช่นเดิม อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.prachachat.net/economy/news-584843
กรมส่งเสริมการเกษตร
กรมส่งเสริมการเกษตร แนะแนวทางการปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร และขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกพืช ปี 2563 เน้นย้ำให้เกษตรกรรายเดิม – แปลงเดิม ปรับปรุงทะเบียนเกษตรผ่านแอปพลิเคชั่น Farmbook ส่วนเกษตรกรรายใหม่ – แปลงใหม่ และ เกษตรกรรายเดิม – แปลงใหม่ กรอกข้อมูลส่งผ่านผู้นำชุมชน ไม่ต้องมาที่สำนักงานเกษตรอำเภอ เพื่อลดความเสี่ยงการแพร่เชื้อ COVID-19